วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบสอบปลายภาค


1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า   ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
-สรุปได้ว่าความเป็นมาในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดศึกษาไทยของลูกหลานมีการศึกษาในยุคใหม่กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมกเป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียนคนรุ่นใหม่ควรมีการพัฒนาให้ผู้เรียนได้มีทักษะการอ่านเขียนเป็นในยุคดจิติลต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อเกิดการแสวงหาความรู้เพื่อให้เด็กมีการสื่อสาร ด้วยการใช้เสียงหัวเราะและรอยยิ้มของเด็กเพื่อสร้างความประทับใจในการเรียนรู้ที่สำคัญในการสร้างทักษะการเรียนรู้การทำงานร่วมกับมีตัวเชื่อมโยงกิจกรรมมีระดับการเรียนรู้ต่อเนื่องบางครั้งต้องอาศัยการจำลองสถานการณ์หรือการทดลองเหมือนจริงเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมีการเรียนรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ครูในดารสร้างทักษะการเรียนรู้ให้เด็กๆ
อ้างอิง:แท็บแล็ต “Teblet” เพื่อการศึกษาผู้เขียนได้อ่านงานเขียนของคุณสิรีนาฏ  ทาบังกาฬ จากสถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
              แท็บแล็ตเพื่อการศึกษา วิวัฒนาการของเด็กวัยเรียน
-สรุปได้ว่า การเรียนการศึกษาของเด็กในวัยเรียนควรมีการดูแลให้มีวิฒนาการที่ไม่ให้หมกมุ่นอยู่กับหน้าจอสี่เหลี่ยมและยังพัฒนาไปตามของวัยเด็ก เช่นยุคนี้มีการใช้อุปกรณ์ในการสื่อสารได้แก่ สมาร์ทโฟน แท็บแล็ตและเทคโนโลยีทันสมัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารให้กับเด็กวัยเรียนที่มีความสนใจในการอ่านและเขียนมีการใช้ทักษะการสื่อสารให้พูดคุยกับผู้ใหญ่น้อยลง เป็นต้นเด็กควรอยู่หน้าจอสี่เหลี่ยมไม่เกิน1ชั่วโมงต่อวัน
อ้างอิง:mthai.com
แท็บแล็ตเพื่อการศึกษา :โอกาสและความท้าทาย
  -นโยบายการศึกษาภาครัฐโดยเฉพาะด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบันที่ได้แถลงไว้เมื่อวันที่26สิงหาคม 2554 เกี่ยวกับนโยบายด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนาๆชาติ ต่อรัฐสภาว่าเป็นนโยบายที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิคส์แห่งชาติเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ พัฒนาเครือข่ายและพัฒนาระบบไซเบอร์โฮมที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยการจัดให้มีการแจกแท็บแล็ตเพื่อการศึกษาที่เป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจัดการศึกษาของไทยปัจจุบัน
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3บทความหรือมากกว่าใช้ Keywordว่าสมาคมอาเซียนให้เขียนวิเคราะห์ประเทศไทยประเทศเพื่อนบ้านการเตรียมตัวเป็นครูนักเรียนนักศึกษาเพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร 
 - ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด  โดยสร้างขึ้นจากสภาพความตึงเครียด  อันเป็นผลมาจากสงครามเย็น ซึ่งมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์  โดยมีรัฐมนตรีของไทย  เดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้  เพราะแต่ละประเทศอาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ลดความหวาดระแวง และช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  และที่สำคัญไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียน  ดั้งเดิมในการแก้ไขปัญหากัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง เราจึงให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก  ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศของเราก็จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  การศึกษา ตลอดจนการใช้ภาษาในการสื่อสาร  จะเห็นได้ว่าภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเข้าสู้ประชาคมอาเซียนเพราะการจัดตั้งประชาคมอาเซียนมีสมาชิกด้วยกันทั้งหมด 10 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ครู นักเรียนนักศึกตลอดจนประชาชนทั่วไปก็จะต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคตที่จะตามมา  ในแต่ละประเทศก็ควรให้ความรู้แก่ประชาชนในประเทศในเรื่องประชาคมอาเซียนให้เกิดความเข้าใจ จะต้องมีแผนงานในการเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อให้เข้าสู้ประชาคมอาเซียนด้วยความภาคภูมิใจ และพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆที่จะเข้ามาด้วยความมั่นใจ
อ้างอิง:ดร.ชูศักดิ์  ประเสริฐ: ไมตรี  สุนทรวรรณ: กฤตติยา คงนุกูล
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
 -การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอ เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ครู นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครองจนทำกระบวนการให้เกิดพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมสามารถยอมรับกับสถานการณ์และสิ่งรอบตัวและสามารถแก้ปัญหาเป็น
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
    4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร 
                -ในการนำบล็อกมาเป็นสื่อในการเรียนการสอนนั้นมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการอำนวยให้เกิดความสะดวกสบายทั้งครูผู้สอนหรือตัวของนักเรียนเอง ซึ่งคุณครูสามารถสั่งการบ้าน ให้ใบความรู้หรือให้นักเรียนสอบผ่านบล็อกได้เลย และนักเรียนก็สามารถอ่านใบความรู้ ส่งการบ้านและทำข้อสอบได้อย่างสะดวกมากกว่าการที่จะต้องเขียนส่งการเรียนรู้โดยใช้บล็อกดิฉันคิดว่ามันเป็นการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพเป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถหาวิชาความรู้ได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวางสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและความรู้นั้นจะคงทนถาวรไม่มีการเสียหาย และที่สำคัญการเรียนรู้โดยใช้บล็อกเป็นการประหยัดกระดาษและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติ การให้คะแนนในวิชานี้ก็คือประเมินจากการเข้าเรียนและการส่งงานที่ตรงต่อเวลา และใช้ความคิดของตนเอง ไม่ลอก และมีความคิดสร้างสรรค์ มีความตั้งใจสูงค่ะ ส่วนในเรื่องของเกรดดิฉันอยากได้เกรด A ในวิชานี้ค่ะเพราะฉันมีความพยายามในการเรียนวิชานี้เป็นอย่างมากค่ะ มีความตั้งใจสูง แต่ฉันขาดเรียน 2ครั้งเพราะมีความจำเป็นและฉันทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่ง ทำงานด้วยความคิดของตัวเอง ไม่ลอกเลียนของเพื่อนๆๆร่วม และทุกสิ่งที่ตอบลงมาในบล็อกล้วนแล้วเป็นความสัตย์จริงค่ะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น