วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบสอบปลายภาค


1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า   ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
-สรุปได้ว่าความเป็นมาในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดศึกษาไทยของลูกหลานมีการศึกษาในยุคใหม่กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมกเป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียนคนรุ่นใหม่ควรมีการพัฒนาให้ผู้เรียนได้มีทักษะการอ่านเขียนเป็นในยุคดจิติลต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อเกิดการแสวงหาความรู้เพื่อให้เด็กมีการสื่อสาร ด้วยการใช้เสียงหัวเราะและรอยยิ้มของเด็กเพื่อสร้างความประทับใจในการเรียนรู้ที่สำคัญในการสร้างทักษะการเรียนรู้การทำงานร่วมกับมีตัวเชื่อมโยงกิจกรรมมีระดับการเรียนรู้ต่อเนื่องบางครั้งต้องอาศัยการจำลองสถานการณ์หรือการทดลองเหมือนจริงเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมีการเรียนรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ครูในดารสร้างทักษะการเรียนรู้ให้เด็กๆ
อ้างอิง:แท็บแล็ต “Teblet” เพื่อการศึกษาผู้เขียนได้อ่านงานเขียนของคุณสิรีนาฏ  ทาบังกาฬ จากสถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
              แท็บแล็ตเพื่อการศึกษา วิวัฒนาการของเด็กวัยเรียน
-สรุปได้ว่า การเรียนการศึกษาของเด็กในวัยเรียนควรมีการดูแลให้มีวิฒนาการที่ไม่ให้หมกมุ่นอยู่กับหน้าจอสี่เหลี่ยมและยังพัฒนาไปตามของวัยเด็ก เช่นยุคนี้มีการใช้อุปกรณ์ในการสื่อสารได้แก่ สมาร์ทโฟน แท็บแล็ตและเทคโนโลยีทันสมัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารให้กับเด็กวัยเรียนที่มีความสนใจในการอ่านและเขียนมีการใช้ทักษะการสื่อสารให้พูดคุยกับผู้ใหญ่น้อยลง เป็นต้นเด็กควรอยู่หน้าจอสี่เหลี่ยมไม่เกิน1ชั่วโมงต่อวัน
อ้างอิง:mthai.com
แท็บแล็ตเพื่อการศึกษา :โอกาสและความท้าทาย
  -นโยบายการศึกษาภาครัฐโดยเฉพาะด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบันที่ได้แถลงไว้เมื่อวันที่26สิงหาคม 2554 เกี่ยวกับนโยบายด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนาๆชาติ ต่อรัฐสภาว่าเป็นนโยบายที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิคส์แห่งชาติเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ พัฒนาเครือข่ายและพัฒนาระบบไซเบอร์โฮมที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยการจัดให้มีการแจกแท็บแล็ตเพื่อการศึกษาที่เป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจัดการศึกษาของไทยปัจจุบัน
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3บทความหรือมากกว่าใช้ Keywordว่าสมาคมอาเซียนให้เขียนวิเคราะห์ประเทศไทยประเทศเพื่อนบ้านการเตรียมตัวเป็นครูนักเรียนนักศึกษาเพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร 
 - ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด  โดยสร้างขึ้นจากสภาพความตึงเครียด  อันเป็นผลมาจากสงครามเย็น ซึ่งมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์  โดยมีรัฐมนตรีของไทย  เดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้  เพราะแต่ละประเทศอาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ลดความหวาดระแวง และช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  และที่สำคัญไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียน  ดั้งเดิมในการแก้ไขปัญหากัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง เราจึงให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก  ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศของเราก็จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  การศึกษา ตลอดจนการใช้ภาษาในการสื่อสาร  จะเห็นได้ว่าภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเข้าสู้ประชาคมอาเซียนเพราะการจัดตั้งประชาคมอาเซียนมีสมาชิกด้วยกันทั้งหมด 10 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ครู นักเรียนนักศึกตลอดจนประชาชนทั่วไปก็จะต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคตที่จะตามมา  ในแต่ละประเทศก็ควรให้ความรู้แก่ประชาชนในประเทศในเรื่องประชาคมอาเซียนให้เกิดความเข้าใจ จะต้องมีแผนงานในการเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อให้เข้าสู้ประชาคมอาเซียนด้วยความภาคภูมิใจ และพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆที่จะเข้ามาด้วยความมั่นใจ
อ้างอิง:ดร.ชูศักดิ์  ประเสริฐ: ไมตรี  สุนทรวรรณ: กฤตติยา คงนุกูล
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
 -การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอ เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ครู นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครองจนทำกระบวนการให้เกิดพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมสามารถยอมรับกับสถานการณ์และสิ่งรอบตัวและสามารถแก้ปัญหาเป็น
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
    4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร 
                -ในการนำบล็อกมาเป็นสื่อในการเรียนการสอนนั้นมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการอำนวยให้เกิดความสะดวกสบายทั้งครูผู้สอนหรือตัวของนักเรียนเอง ซึ่งคุณครูสามารถสั่งการบ้าน ให้ใบความรู้หรือให้นักเรียนสอบผ่านบล็อกได้เลย และนักเรียนก็สามารถอ่านใบความรู้ ส่งการบ้านและทำข้อสอบได้อย่างสะดวกมากกว่าการที่จะต้องเขียนส่งการเรียนรู้โดยใช้บล็อกดิฉันคิดว่ามันเป็นการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพเป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถหาวิชาความรู้ได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวางสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและความรู้นั้นจะคงทนถาวรไม่มีการเสียหาย และที่สำคัญการเรียนรู้โดยใช้บล็อกเป็นการประหยัดกระดาษและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติ การให้คะแนนในวิชานี้ก็คือประเมินจากการเข้าเรียนและการส่งงานที่ตรงต่อเวลา และใช้ความคิดของตนเอง ไม่ลอก และมีความคิดสร้างสรรค์ มีความตั้งใจสูงค่ะ ส่วนในเรื่องของเกรดดิฉันอยากได้เกรด A ในวิชานี้ค่ะเพราะฉันมีความพยายามในการเรียนวิชานี้เป็นอย่างมากค่ะ มีความตั้งใจสูง แต่ฉันขาดเรียน 2ครั้งเพราะมีความจำเป็นและฉันทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่ง ทำงานด้วยความคิดของตัวเอง ไม่ลอกเลียนของเพื่อนๆๆร่วม และทุกสิ่งที่ตอบลงมาในบล็อกล้วนแล้วเป็นความสัตย์จริงค่ะ




วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

กจิกรรมที่7


ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และ เขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้
1.สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน
-สอนเรื่อง สอนสังคมแบบ โยนิโสมนสิกา
- ผู้สอน อ.สิริมา กลิ่นกุหลาบ
-ระดับชั้นประถมศึกษา ป.2
2.นื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
การสอนแบบโยนิโสมนสิการ เป็นการสอนที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้ถึงคุณ โทษ และทางออกของปัญหา และทำให้เด็กกล้าแสดงความคิดเห็นโดยรูปแบบการสอนของครูสิริมา กลิ่นกุหลาบ สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดีมาก
 -การสร้างศรัทธาโดยการร้องเพลงดอกไม้บาน
- เมื่อสมองเด็กเปิดรับ ก็จะมีความพร้อมในการเรียน
-ให้เด็กทำดอกไม้แห่งความดี เด็กเกิดความภูมิใจที่ทำความดีและได้รับคำชมเชยจากเพื่อนร่วมชั้น
-เด็กรู้จักคิดด้านบวกและลบ โดยการสร้างสถานการณ์ให้เด็กรู้จักคิดเพิ่มมากขึ้นและรู้จักวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ คำตอบที่หลากหลายทำให้เด็กรู้จักตัดสินใจเลือกทางออกที่เหมาะสม
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
ด้านสติปัญญา
-  คุณครูถามดอกไม้ของนักเรียนแล้วให้นักเรียนตอบคำถามจากความคิดของตนเองแล้วนำมาเขียนลงบนกระดาน
นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้เพื่อที่จะนำไปไปปรับใช้
ด้านอารมณ์
- นักเรียนกล้าที่จะเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่น
นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้องเรียน
นักเรียนได้สอบถามหาความรู้
     นักเรียนกล้าที่จะนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ทำให้เด็กได้ตระหนัก เกิดการเรียนรู้ กล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น ปลูกฝังด้านพระพุทธศาสนา หลักธรรมที่ปฏิบัติง่ายๆได้ หรือถ้าเด็กมีการบันทึกการทำความดีด้วยก็จะดีมาก มีการชื่นชม ยกย่อง ชมเชยของครูผู้สอน และเพื่อนด้วยจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และพร้อมที่จะทำความดี ปฏิบัติตามหลักธรรมเองต้นได้อย่างดี  
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
ให้นักเรียนทำดอกไม้แห่งความดี
 ติดพัดลมภายในห้องเรียนทำให้นักเรียนไม่ร้อนจึงมีความตั้งใจเรียนมากขึ้น
มีการติดข้อมูลความรู้ต่างๆไว้บริเวณห้องเพื่อให้นักเรียนไว้อ่านเพิ่มเติมความรู้
มีอุปกรณ์ช่วยสอน เช่น ภาพ กระดาน เครื่องเล่นวีดีโอ โทรทัศน์ ฯลฯ ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่สะดวกขึ้น


วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
  • ความคิดของข้าพเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือพระองค์ท่านมีการสอนชาวบ้านและนำความรู้ที่พระองค์เรียนมาเพื่อถ่ายทอดให้แก่ชาวบ้านและเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านและยึดหลักการใช้เศรษฐกิจพอเพียงและพระองค์ท่านได้มีความรู้เรื่องต่างๆในด้านเศรษฐกิจพอเพียงให้มีการดำรงชีวิตตามแนวพระราชดำริและพระองค์ท่านได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เป็นไปตามแนวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว,การปลูกข้าว เป็นต้น
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
   • ถ้าหากว่าข้าพเจ้าได้เป็นครูข้าพเจ้าจะสอนวิชาสังคมศึกษาและศาสนาวัฒนธรรมเกี่ยวกับที่ข้าพเจ้าได้เรียนมาและนำความรู้ที่ได้ออกมาใช้ในการสอนเกี่ยวกับเรื่องศาสนาและวิชาที่ตนเองถนัดให้และข้าพเจ้าได้นำมาสอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไปหรือนำไปใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
   • เมื่อข้าพเจ้าได้เป็นครูจริงๆข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้ออกมาสอนในครั้งนี้จะใช้กระบวนการสื่อสารแบบเทคโนโลยีและวิธีการสาธิตให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจก่อน ถ้าหากว่านักเรียนไม่เข้าใจข้าพเจ้าจะมีการสาธิตให้นักเรียนดู1-2ครั้งก่อนสำหรับนักเรียนระดับมัธยมเป็นต้นโดยมีการยึดหลักความซื่อสัตย์, สุจริต, มีคุณธรรม, มีการทำความดีและเป็นครูที่ดีของเด็กนักเรียนมัธยม
บทความเรื่อง วิถีแห่ง สตีฟ   จ๊อบส์ THE STEVE JOBS WAY
1.ข้อสรุปจากบทความ สตีฟ จ๊อบส์
    • สตีฟ จ๊อบส์ เป็น คนที่มีความเฉลียวฉลาดและไม่ค่อยมีทักษะด้านวิชาการแต่เขามีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆและสามารถ สร้างความรู้หรือความคิดมาจากมันสมองและสองมือของเขาขึ้นมาช่วยในการศึกษาขอบเขตพื้นที่การศึกษา3 คณะคือคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (กพท.)ช่วยในการส่งเสริมเขตลักษณะทั่วไป คณะกรรมการติดตามตรวจสอบประเมินผลและนิเทศการศึกษา (กตปน.) ดูแลงานวิชาการและการอนุรักษ์กรรมการข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษาด้านบริหารงานบุคคลส่วนใหญ่เด็กมักจบเรียนม.3และม.6เท่านั้น
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
    • ข้าพเจ้าจะนำความรู้ทั้งหมดนำไปใช่ในการถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยใช้ทักษะของข้าพเจ้าที่มีอยู่ให้เด็กนักเรียนได้ฟังและมีการทำความเข้ามากขึ้นที่ข้าพเจ้าถนัดและนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนทำให้มีความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียน เช่น ครู, ผู้บริหารบุคลากรทางการศึกษาในสถานที่และนอกสถานที่ที่มีตามแนว พระราชดำริ ปรัชญาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
   • ในอนาคตของข้าพเจ้าจะเป็นครูผู้สอนที่ดี โดยมีการใช้เครื่องที่ทันสมัยและมีการออกแบบโดยการมีสอนวิธีที่เข้าใจง่ายเด็กนักเรียนได้คิดตามในการเรียนและทำความเข้าใจได้ง่ายๆมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันที่ได้รับมี การเกิดเหตุการณ์ทำให้มีการเปิดโอกาสการทำกิจกรรมต่างในระหว่างเรียนและปลูกฝั่งให้นักเรียนได้เก็บไปคิดให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน


วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

การจัดการบรรยายกาศในห้องเรียน



การจัดการบรรยากาศในชั้นเรียน
        การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียนชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่นความเห็นอกเห็นใจและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกันย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียนและช่วยปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียนนอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใสสะอาดสว่างกว้างขวางพอเหมาะมีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อยมีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งมีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้มีการตกแต่งห้องให้สดใสก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียนเข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจบรรยากาศหลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจนเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้เป็นระเบียบมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันนักเรียน
3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียน
4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกันและการฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน
6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจ

ครูมืออาชีพในอุดมคติ



ครูมืออาชีพในอุดมคติ
           ครูมืออาชีพในอุดมคติของข้าจะต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน และเยาวชนของชาติ การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า คุณภาพของเด็กสะท้อน คุณภาพของครูดังนั้นครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ เมตตา และ กัลยาณมิตร ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลักโดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไปครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ "คุณภาพการสอน"ซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้
1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน
7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้

กิจกรรมที่6







                                                                          

                                                              วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร


     วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ได้ทำขึ้นเพื่อนำเสนอในการขึ้นบัญชีเบื้องต้นการเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่า วัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน  พระบรมธาตุ พระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นโบราณสถาน พระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ผู้ที่นับถือในพุทธศาสนา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่กลางใจเมืองและยังมีสัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จักกันคือ พระบรมธาตุเจดีย์ คนชาวนครศรีธรรมราชมีการกราบไว้องค์พระธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

กิจกรรมที่5


ประวัติครู



ชื่อ: สิริพร นามสกุล:กุ่ยกระโทก นามแฝง: (ครูอ้อย แซ่เฮ)
อาชีพ:ครู ตำแหน่ง:ครู คศ.3 สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา
บ้านเลขที่ :256/44 บ้านพักรถไฟ กม.11 ถนนวิภาวดี อ.เมืองจตุจักรจ.กรุงเทพฯ
รหัสไปรษณีย์: 10900
ประวัติการศึกษา 
ครู สิริพร  กุ่ยกระโทก  (ครูอ้อย แซ่เฮ)   เกิด 7 มกราคม 2501   อายุ54 ปี  
ป.1-7 โรงเรียนสตรีวรนาถบางเขน
ม.ศ.5 แผนกศิลปภาษา  ร.ร.ศรีบุณยานนท์  นนทบุรี
คบ.เอกภาษาอังกฤษ   โทศิลปะ  วิทยาลัยครูพระนคร  บางเขน  กทม.
ศษ.ม.หลักสูตรและการสอน  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  หัวหมาก  กทม.
ประวัติการทำงาน
ครูผู้สอน  ภาษาอังกฤษ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ร.ร. พระยาประเสริฐสุนทราศรัย: หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) 2544-ปัจจุบัน : หัวหน้าโครงการวิจัยโรงเรียน2548-ปัจจุบัน
ได้รับมอบหมายให้ดูแลปฏิบัติการเกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสากล 2551-ปัจจุบัน

ครูผู้ประสานงานศูนย์เครือข่ายภาษาอังกฤษ  ERIC NETWORK สพป.กทม.2
เกียรติประวัติ
-ครูดีเด่นการสอนภาษาอังกฤษ  ระดับกลุ่มโรงเรียน  2539 -2541
-ข้าราชการครูตัวอย่าง  ระดับ 6 -8  กระทรวงศึกษาธิการ  2544
-ครูผู้มีผลงานดีเด่น  เพื่อรับรางวัลคุรุสภา  ระดับเขตการศึกษา 2544
-เครื่องหมาย  เข็มคุรุสดุดี   สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 2545
-ครูตัวอย่างแห่งปี  วารสารสารคดีคนดีสร้างชาติ  2545
-ครูนักวิจัยยุคปฏิรูป  สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา  2546
-ครูดีในดวงใจ  ระดับสำนักงานเขตพื้นที่ กทม.เขต 2   2546
-ครูดีในดวงใจ ครั้งที่ 2 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่ กทม.เขต 2  2554
-รางวัล  หนึ่งแสนครูดี  สำนักเลขาธิการคุรุสภา  กทม  2555
-ครูนักคิดประดิษฐ์สื่อฯ รางวัลชมเชย
-แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ป.4    2547

-ศึกษาและวิจัยการสอนภาษาอังกฤษที่สิงคโปร์   2548
-ได้รับทุน สพฐ.ศึกษาดูงานการสอนภาษาอังกฤษที่สิงคโปร์   2548
-รางวัลสุดคะนึง ตุลาคม 2549 จาก สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้สู่สังคม
ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ 

-นำเสนอผลงานวิจัยด้านการสอนภาษาอังกฤษ 
ที่อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน  2552

-รางวัล " ครูเพื่อศิษย์ " สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้สู่สังคม
ประสบการณ์การทำงาน
-2523: ตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 3บรรจุเข้ารับราชการ ร.ร.วัดสโมสรนนทบุรี
-2525   โอนย้าย  ร.ร.บ้านสีมุม  นครราชสีมา
-2538   ย้ายร.ร.พระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) สพป.กทม.2
-2539   อาจารย์ 2 ระดับ 7 ร.ร.พระยาประเสริฐฯ
-2548   ครู คศ.3ร.ร.พระยาประเสริฐ ฯ
-2551-ปัจจุบัน    กำลังทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ
ผลงานที่ข้าพเจ้าชอบของครู
 -ข้าพเจ้าชอบผลงานนักคิดประดิษฐ์สื่อในการเรียนการสอน
 -เทคนิคการสอนโต้ตอบทางสรีระ " พยัญชนะพิศวง "
 -“หนังสือภาพ " เป็นแบบเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1นักเรียนประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
-สามารถมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการสอนในอนาคตได้และเป็นครูที่ดีที่นักเรียนรักและเป็นที่รักของผู้ปกครอง