วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

      มาสโลว์เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษย์นิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันมาสโลว์แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ
              1. ความต้องการทางกายภาพ
2. ความต้องการความปลอดภัย
3. ความต้องการทางสังคม
4. ความต้องการยกย่องชื่อเสียง
5. ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิ
           Frederick Herzberg   ทฤษฎี 2 ปัจจัย การทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย
1.
ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2.
ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factor
          Frederick W. Taylor   ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
   1
ทำการศึกษางานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
    2
ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
   3
มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
   4.
แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่างๆ
   Henry L. Gantt    ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart)คุณ Gantt เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านที่นำเอากราฟ "Gantt Chart" มาเป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้วเขายังได้คิดวิธีจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานแบบใหม่ โดยใช้วิธีให้สิ่งจูงใจ
สรุปบริหารการศึกษา
บทที่ 1 มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
   การบริหาร  เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ ซึ่งหมายถึง การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆของรัฐ ส่วนการบริหารของรัฐหมายถึงการบริหารหรือการจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีระเบียบโดยมีส่วนความสำคัญของการบริหารเป็นการดำรงอยู่รวมกันของมนุษย์ ทำให้การบริหารของหน่วยงานต่างๆได้ขยายงานอย่างกว้างขวาง
    การบริหารการศึกษา หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน
บทที่  2 วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
   วิวัฒนาการด้านรัฐกิจให้ความหมายการบริหารงานของรัฐหมายถึง การบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน ซึ่งเกี่ยวพันกับกฎหมายต่างๆของรัฐการใช้กฎหมายคือการบริหาร ส่วนวิวัฒนาการด้านธุรกิจในระบบมีการใช้วิธีฝึกจากการทำงานการจัดการ เป็นสาขาที่สำคัญ  นอกจากการใช้  “ระเบียบวินัยในการทำงาน การบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติตามวัตถุประสงค์และการรวมพลังของกลุ่ม  ดังนั้นปรัชญาของการบริหารธุรกิจจึงมุ่งแสวงหากำไรมากกว่าอย่างอื่น  เป็นเป้าหมายสำคัญในการแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหารจะแบ่งได้ดังนี้ในยุคที่ 1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม จะจัดการงานซึ่งได้ปฏิบัติ โดยอาศัยหลักควบคุมทางวินัย ใน ยุคที่ยุค  Human  Relation  Era  ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ความรู้ความชำนาญของผู้บริหาร  คือ  ผู้บริหารต้องมีความรู้  ความฉลาด  ส่วนการประยุกต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษาเราสามารถนำหลักมนุษย์สัมพันธ์มาใช้ในการบริหารการศึกษา ส่วนในยุคที่ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ เป็นการจัดองค์การที่เป็นทางการจึงให้ทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษย์สัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล  มุ่งด้านระบบขององค์การ  และสนใจจะพูดถึงพฤติกรรมศาสตร์
บทที่  3 งานบริหารการศึกษา
   การบริหารการศึกษาจะไม่แตกต่างกับการบริหารงานทั่วไป กล่าวคือสามารถนำหลักการของของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารศึกษาได้ ผลเสียของการบริหารดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ง่าย  เพราะจะมีลักษณะเผด็จการโดยการสั่งการสั่งจากเบื้องบน  มีคำสั่งให้ครูปฏิบัติและมีข้อห้ามในการกระทำ  และมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืนและลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้
1.การผลิต หมายถึง กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน หมายถึง กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี หมายถึง การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร คือ   การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน คือ เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่  4 กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
   การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน  ที่เรียกว่าการบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา  การบริหารราชการ  และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกัน  และปรัชญาการศึกษา  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียน คือ 1.การจัดระบบสังคม 2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษาไม่ว่าระดับชาติระดับท้องถิ่น ระดับโรงเรียน คือจะต้องรู้จักเด็กทุกคน โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียมกันโดยกระบวนการบริหารการศึกษา เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน
บทที่  5 องค์การและการจัดองค์การ
   องค์การตามแนวคิดหมายถึงส่วนประกอบที่เกิดจากระบบย่อยหลายระบบที่มีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้สิ่งแวดล้อมหรือระบบใหญ่เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น 3ลักษณะใหญ่ๆคือ
1 องค์การทางสังคม
 2.องค์การทางราชการ
3. องค์การเอกชน
  แนวคิดในการจัดองค์การ
1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง “ผู้ปฏิบัติงาน
3.  แนวในการจัดการองค์การจะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
     ความสำคัญของการจัดองค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ  เพื่อให้พนักงานขององค์การ  ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
 องค์ประกอบในการจัดองค์การ
1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ
2.  การแบ่งงานกันทำ
3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
บทที่ 6 การติดต่อสื่อสาร
   การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารกระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคลโดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมากปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัวคือ สื่อช่องทางที่สื่อผ่านและ กระบวนการรูปแบบของการติดต่อสื่อสารการจัดเตรียมการสังเกตการณ์ของกระบวนการการจำแนกปัจจัยแปรผันซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดทิศทาง ช่วยให้ผู้บริหารจับประเด็นปัญหาของการติดต่อสื่อสาร และช่วยป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้น องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารจะมีผู้ส่งสารช่องทาง ข้อมูลผู้รับสารการตอบรับส่วนการติดต่อสื่อสารจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสารมีความเข้าใจระหว่างผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำงานไปได้ด้วยดี ช่วยสร้างทัศนคติเกิดแรงจูงใจ
บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
    ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงานในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อซึ้งกันและกันผู้นำเกี่ยวข้องกับการอำนวยการจูงใจการริเริ่มกำหนดนโยบายวินิจฉัยสั่งการองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์ ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน ผู้นำจะยกย่องเนื่องจากมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษเหนือบุคคลอื่นจากผู้บริหารมีรูปแบบเป็นทางการ
บทที่ 8 การประสานงาน
    การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆร่วมมือกันปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงานคือต้องทราบนโยบาย แผนงาน งานที่รับผิดชอบ และทรัพยากร ส่วนหลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสาร ความร่วมมือและการประสานงานและนโยบายที่ดีในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วควรจะมีโครงสร้างจัดเป็นระบบแบบแผน มีแผนภูมิแสดงสายการบังคับ มีการเขียนนโยบาย มีระบบเสนองาน มีเครื่องมือและระบบสื่อสารที่เพียงพอและเปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วม การประสานงานที่ดีจะมีประโยชน์หลายอย่างคือช่วยลดการขัดแย้ง ลดปัญหาที่ซับซ้อน ทำให้เกิดเอกภาพในการทำงาน ช่วยให้ประหยัดเงิน เวลา
บทที่ 9 การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
     การตัดสินใจคือการชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือการสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ บางครั้งตัดสินใจถูกแต่การสั่งงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน  ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล ความลำเอียงส่วนบุคคล ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก และการแสวงหาคำแนะนำ
บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
   ผู้บริหารโรงเรียน ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ  จะมีหลายด้าน ดังนี้ 
 1.การบริหารงานวิชาการ จะเป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ จึงถือว่างานวิชาการท้าทายผู้บริหารการศึกษา งานวิชาการจะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และผู้บริหารจะต้องรับรู้ รับผิดชอบ ควบคุมดูแลในการดำเนินการวางแผน 
2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติให้ทำงานอย่างมีปะสิทธิภาพ ความสำคัญของการบริหารบุคคล คือ คนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อสรรหาและเลือกสรรคนดี มีความรู้ความสามารถมาทำงานให้เกิดผลสูงสุดอยู่กับองศ์การนานๆ 
3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ความสำคัญจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นให้เครื่องจักรทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงานหน้าที่ของผู้บริหารงานธุรการคือจะเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายงานธุรการติดตามและวางแผนการปฎิบัติงานจัดระบบงาน 
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียนหลักในการจัดกิจกรรมต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาคต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษาต้องปลูกฝังความคิด 
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหารู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น